|
โปรเจคเตอร์และการเลือกซื้อเบื้องต้น![]() ![]() ![]() ![]() โปรเจคเตอร์และการเลือกซื้อเบื้องต้น ตลาดโปรเจคเตอร์มีให้เลือกอยู่หลายประเภทและหลายรุ่นขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งาน และจากการแข่งขันที่ดุเดือดในตลาดทำให้หลายเจ้าไม่ทำตลาดซึ่งเจ้าแรกได้แก่ SAMSUNG ที่ไม่ทำตลาดในไทย (ต่างประเทศไม่แน่ใจ) เหลือเพียงแค่ epson,panasonic, sony,nec,benq,infocus,acer,canon,Toshiba,ricohอื่นๆไม่เคยขายเลยไม่รู้ โปรเจคเตอร์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม LCD,DLP แต่ละเทคโนโลยีก็จะมีจุดเด่นจุดด้อยต่างกันไป เช่น ความสดของสี การดูแลยากง่ายต่างกันนิดหน่อยแต่นำไปเป็นตัวเลือกสำหรับลูกค้าได้ การแบ่งกลุ่มของโปรเจคเตอร์ 1.PortableProjector คุณสมบัติน้ำหนักเบาพกพาสดวก 2.OfficeProjector คุณสมบัติน้ำหนักเยอะกว่าและ option มากกว่า ข้อแรก 3.Short-ThtrowProjector คุณสมบัติ สามารถฉายระยะสั้นๆได้ 3.HomeCinema Projector คุณสมบัติความสว่างไม่สูงมากเมือเทียบกับ contrastที่จะสูงมาก 4.LargeVenue Projector คุณสมบัติ โปรเจคเตอร์ที่ขนาดใหญ่ความสว่างสูงบางรุ่นจะแยกขายระว่างตัวเครื่องกับ เลนส์ ความสว่างประมาณ 4000 ANSI ถึง 10000 ANSI ข้อด้อยโปรเจคเตอร์ 1.หลอดภาพมีอายุการใช้งานที่ไม่เยอะ ไม่ว่าทางผู้ผลิตจะบอกว่า 3,000-4,000 ชั่วโมง แต่การใช้งานจริงๆแล้ว ถ้าหลอดภาพไม่เสียภาพที่แสดงออกมาก็จะไม่คมชัดสู้แสงไฟในห้องไม่ได้จะเห็นได้ชัดช่วงประมาณอายุหลอดภาพ 1000 ชั่วโมงขึ้นไป แต่ล่าสุดมีหลอดภาพที่เป็น LEDที่รับประกันหลอดภาพถึง 20,000 ชั่วโมงเรียกว่าอายุนานกว่าหลอดภาพแบบ สูญญากาศ เยอะมากๆ 2.การใช้งานที่ต้องดูแลที่ต้องเอาใจใส่มากกว่าปกติ เช่นการเปิดเครื่องจะรอให้ไฟหลอดภาพขึ้นสีเขียวก่อนและตอนปิดเครื่องจะต้องรอให้พัดลมหยุดหมุนและไฟหลอดขึ้นสีเขียวโปรเจคเตอร์บางรุ่นอาจจะรอถึง 2 นาทีกว่าพัดลมจะหยุดและไฟหลอดขึ้นสีเขียวเพราะถ้าปิดแล้วพัดลมยังหมุนดึงหลายไฟออกอายุการใช้งานของหลอดภาพก็จะลดน้อยลง แต่หลังๆผู้ผลิตหลายๆเจ้าได้นำข้อด้อยมาพัฒนา เช่น เปิดเร็วแค่ 3 วิภาพก็แสดงหรือปิดรอแค่ 3 วินาที เท่านั้นเอง 3.ราคาหลอดภาพประมาณ50-60% ของราคาเครื่องแถมจะเปลี่ยนเองไม่ได้นะหรือถ้าเปลี่ยนได้อาจจะไม่มีการรับประกัน แสบไปกว่านั้นบางยีห้อจะต้องรอหลอดภาพประมาณ 40-60 วัน กันเลยก็มี เคยมี ตัวอย่างโปรเจคเตอร์ยี้ห้อ S*** หลอดภาพเสียจะต้องเปลี่ยนหลอด ปรากฏว่าจะต้องรอหลอดภาพจากสิงคโปร์ถึง40 วัน ลูกค้าด่าแบบไม่ไว้หน้า 4.ปัญหาการตกรุ่นของโปรเจคเตอร์ ก็คงเหมือนสินค้าอื่นๆแต่โปรเจคเตอร์พิเศษหน่อยไม่ใช่สินค้าที่ซ่อมโดยช่างทั่วไปได้เหมือนทีวี โดยเฉพาะหลอดภาพ บางครั้งเครื่องยังไม่เสียแต่หลอดภาพเสีย เปลี่ยนแค่หลอดภาพก็ใช้ได้แต่สินค้ารุ่นนี้ไม่มีผลิตแล้วรวมทั้งหลอดด้วยทำไงอะที่แย่ไปกว่านั้นผลิตบางเจ้ายกเลิกการผลิตโปรเจคเตอร์ไปแล้วลูกค้าทำอะไรไม่ได้เลยผู้ขายเองจนปัญญามีทางเดียวคือซื้อใหม่ เพราะทุกวันนี้โปรเจคเตอร์ถูกมากๆๆ คู่แข่งของโปรเจคเตอร์ ไม่ใช่ที่ไหนอื่นใกลนั้นคือสินค้าตระกลู ทีวี LCD ,LED เพราะการพัฒนาของทีวีเหล่านี้มีขนาดจอใหญ่ล่าสุด84 นิ้ว ความคมชัดระดับ Full HD หรือมากกว่าการใช้งานก็ครบทุกอย่าง ทั้งต่อเนตได้ ,มี WI-FI รองรับ 3D อายุการใช้งานที่นานกว่าไม่ต้องดูแลมากและในอนาคตราคาจะต้องถูกลงเป็นแน่แท้ แล้วถามว่าโปรเจคเตอร์จะตายไปจากตลาดเหมือนสินค้าอื่นๆหรือไม่ส่วนตัวคิดว่าน่าจะยังคงมีอยู่ในตลาดต่อไป เช่นโรงเรียน มหาวิทยาลัยหน่วยราชการยังคงเป็นตลาดหลักของโปรเจคเตอร์ ถ้าเป็นเอกชนน่าจะเป็นห้องประชุมสัมนาขนาดใหญ่ยังคงจำเป็นต้องใช้โปรเจคเตอร์ช่วยในการนำเสนอ การเลือกโปรเจคเตอร์ใช้งาน ปัจจัยการเลือกโปรเจคเตอร์มาใช้งานองค์ประกอบคราวดังนี้ 1.สถานที่ ขนาดห้อง: เลือกความสว่างให้เหมาะสมกับขนาดห้อง โดยดูที่ ANSI มีตั้งแต่ 2000-10000 ANSIความสมพันธ์ขนาดห้องกับ ANSIต้องสัมพันธ์กัน ห้อง : ห้องทึบ หรือ ห้องกระจกถ้าห้องกระจกก็จะต้องคำนึงถึงแสดงจากภายนอกด้วย เพราะโปรเจคเตอร์จะต้องสู้กับแสงถ้าห้องมีแสงสว่างมากก็จะต้องใช้ ANSI มากตามไปด้วย แม้ห้องนั้นจะเป็นห้องขนาดเล็กก็ตามและคงจะเหลือน้อยแล้วนะครับประเภทปิดไฟบางส่วนเพื่อฉายโปรเจคเตอร์ 2.ความละเอียดของภาพ: ชึ่งจะมีให้เลือกตั้งแต่ VGA จนถึงระดับFull HD 3.คุณสมบัติอื่น 1.สามารถต่อเนตเวริค์(LAN) ได้ 2.มีWi-fi เชื่อมต่อกับโน๊ตบุ๊คและมือถือสมารท์โฟนบางรุ่นได้ 3.มี HDMI การแสดงภาพที่มีความละเอียดสูง 4USB TYPE A สำหรับแสดงข้อมูล เพียงแค่เรานำ USB มาเสียบก็นำเสนองานได้เลย 4.การต่ออุปกรณ์ที่หลากหลาย RCA,RGB 5.VGA OUTPUT สำหรับต่อพ่วงโปรเจคเตอร์ได้หลายตัว 6.รีโมท รุ่นหลังจะเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน องค์ประกอบเหล่านี้ล้วนมีผลต่อราคาของโปรเจคเตอร์ฉะนั้นในการเลือกซื้อเราจะต้องคำนึงถึงการใช้งาน รายละเอียดเกี่ยวกับโปรเจคเตอร์เพิ่มเติมพร้อมการติดตั้ง Projector ขอขอบคุณบทความดีๆจาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=peakban2011&month=03-2013&date=07&group=1&gblog=18 |
|