JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0

เรื่องวุ่นๆ กับซิงเกิ้ลเกตเวย์ (Single Gateway)

2016-05-11 09:54:17 ใน NEWS » 0 5622
เรื่องวุ่นๆ กับซิงเกิ้ลเกตเวย์ (Single Gateway)
 

ผมคิดว่าคงมีผู้รู้หลายคนคงได้เขียนถึงเรื่องซิงเกิ้ลเกตเวย์ (Single Gateway) ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะว่ามีเหตุการณ์กลุ่มคนเล่นเน็ตได้รุมกดปุ่ม F5 บนคีย์บอร์ด เพื่อรีเฟรช Session พร้อมๆ กัน นับแสนเครื่อง บนหน้าเว็บไซต์ของส่วนราชการทั้งกระทรวงไอซีที และหน่วยงานความมั่นคงหลายแห่ง จนเป็นเหตุให้เมมโมรี่ของเครื่องเซิร์ฟเว่อร์ของเว็บไซต์เหล่านั้นแฮงค์ จนเว็บไซต์ล่มไป เลยทำให้หลายคนสงสัยว่า Single Gateway คืออะไร และมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง บทความนี้ ผมเลยขออนุญาตเพิ่มเติมในส่วนที่หลายท่านอาจจะตกหล่นไปนะครับ

ทำไมอยู่ดีๆ เค้าถึงพูดกันถึงเรื่องของ Single Gateway สาเหตุก็คือ ได้มีการอ้างถึงเอกสารข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี จากการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา ถึงจุดเริ่มต้น ในการจัดตั้ง Single Gateway โดยหนังสือระบุว่า ในปัจจุบันพบว่า มีเด็กและเยาวขนใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทางที่ไม่เป็นประโยชน์ และก่อปัญหาต่อพฤติกรรมและคุณภาพในการเรียนรู้ของเด็ก เช่น การติดเกมส์ออนไลน์ การเข้าถึงสื่อที่ไม่เหมาะสม จนอาจส่งผลให้เป็นปัญหาสังคมไทย ดังนั้น จึงให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงศึกษาธิการร่วมกันกำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และยังระบุให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ร่วมกับ กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการจัดตั้ง Single Gateway เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม โดยให้ตรวจสอบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากมีความจำเป็นต้องออกกฎหมายเพิ่มเติม ก็ให้เร่งดำเนินการ และในวันที่ 25 สิงหาคม 2558 ในที่ประชุม ครม. เร่งรัดกระทรวงไอซีทีอีกครั้ง เรื่องการจัดตั้ง Single Gateway และรายงานความคืบหน้าให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยละเอียด อย่างเป็นรูปธรรมในเดือนกันยายน แต่ส่วนตัวผมเชื่อว่าแนวคิดเรื่อง Single Gateway ไม่น่าจะมาจากท่านนายกรัฐมนตรีโดยตรง คงมาจากใครสักคนที่เป็นที่ปรึกษา จนเกิดปัญหาการประท้วงโดยการถล่มเว็บไซต์ที่ได้กล่าวมาข้างต้น และภายหลังรัฐบาลจึงออกมาแถลงว่ายังไม่มีแนวคิดที่จะทำ Single Gateway เป็นเพียงการให้ไปศึกษาเท่านั้น ก็เป็นอันจบเรื่องร้อนๆ ไป แม้จะมีการท้าทายจากกลุ่มบางกลุ่มที่สนับสนุนแนวคิดนี้ว่า คนมากด F5 มีแค่หลักแสน แต่คนเล่นเน็ตบ้านเรามีเป็นล้าน ซึ่งคนมากด F5 เป็นแค่ส่วนน้อย ผมแนะนำให้หยุดพูดอะไรแปลกๆ จะดีกว่าครับ

แต่เอาเถอะครับ ไหนๆ เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องร้อนในสัปดาห์ที่ผ่านมา เราเลยมาดูกันว่า Single Gateway คืออะไร เพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ คำว่า Single Gateway ก็แปลกันตรงตัวนะครับ ว่าคือ ประตูทางผ่านที่รวมกันก็หมายถึงประตูทางผ่านเดียว ซึ่งเมื่อมาใช้ในวงการไอที ก็จะหมายถึง ประตูเชื่อมระหว่างเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง ในกรณีนี้คือทางผ่านที่ใช้เชื่อมต่อจากประเทศไทยออกไปยังประเทศต่างๆ จากปัจุบันที่มีกว่า 10 ประตูหรือ 10 ช่องทางเชื่อมเครื่อข่าย มาเหลือเพียงช่องทางเดียว ถ้านึกไม่ออกก็นึกถึงว่าตอนนี้เราจะออกนอกประเทศไทย มีหลายทางออก เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง สนามบินเชียงใหม่ ท่าเรือ ฯลฯ แต่ต้องมาใช้ทางออกทางเดียวคือ สนามบินสุวรรณภูมิ นั่นแหละครับ ทางอื่นห้ามออก

ถามว่าทำไมเราต้องต่ออินเทอร์เน็ตออกไปนอกประเทศ เพราะว่า บางเว็บไซต์ เช่น YouTube, Facebook, LINE เว็บข่าวต่างประเทศต่างๆ ฯลฯ ไม่ได้มีเซิร์ฟเว่อร์ในประเทศไทย ถ้าเราต่อออกไปต่างประเทศไม่ได้ เราก็ใช้บริการเว็บไซต์เหล่านั้นไม่ได้ ก็ใช้ได้แต่เว็บในประเทศไทยเท่านั้น

จริงๆ แล้ว ในอดีต ประเทศไทยเรามีการใช้ Single Gateway นะครับ ไม่ได้เป็นอะไรที่ใหม่ แต่นั่นคือเป็นในสมัยแรก ๆ ที่การใช้อินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลายมากนัก โดยเวลาที่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ทุกจุดเชื่อมต่อก็จะต้องมารวมกันที่ กสท. หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย ที่ในยุคนั้นเป็นเพียงผู้ให้บริการเพียงเจ้าเดียว แต่หลังจากเกิดวิกฤติไอเอ็มเอฟ ในปี พ.ศ. 2540 ก็ได้มีการสั่งให้ประเทศไทยเปิดเสรีโทรคมนาคม ทำให้ Gateway ในไทยเพิ่มมากขึ้นตามการขยายตัวของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศ จนปัจจุบันมีผู้ให้บริการรายอื่นๆ ตามมา เช่น ทีโอที จัสมิน ทรู ซีเอส ฯลฯ จึงทำให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมีความสะดวกสบายมากขึ้น และได้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ต่อออกไปวิ่งได้เร็วขึ้น ถ้านึกไม่ออกก็นึกถึงถ้ามีแต่ กสท. รายเดียว ก็เหมือนทุกคนไปรอออกต่างประเทศจากสนามบินสุวรรณภูมิครับ ว่าสภาพการจราจรจะแออัดขนาดไหน

ทีนี้ถามกันต่อว่า ทำไมจะทำ Single Gateway ล่ะครับ สาเหตุก็คือ รัฐบาลจะสามารถควบคุมเนื้อหาของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่ายกว่า ก็นึกง่ายๆ คือ มีด่านตรวจด่านเดียว จะดักจับข้อมูลอะไรแปลกๆ หรือเนื้อหาที่มีผลต่อความมั่นคงก็ทำได้ไม่ยากครับ 

แต่ข้อเสียของ Single Gateway ย่อมมีเหมือนกัน ถ้าไม่นับประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลแล้ว (อันนี้ คงถกเถียงกันยาวว่าจะป้องกันอย่างไร) ก็จะเป็นประเด็นเรื่องความเสถียรของเครือข่ายที่ออกนอกประเทศ ที่นับวันคนไทยจะใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสิ่งที่กังวลคือความเร็วและความมั่นคงของการใช้อินเทอร์เน็ต ถ้าอยู่ดีๆ มีการทำ single gateway ขึ้นมา และข้อมูลต้องผ่านการตรวจสอบก่อนได้รับการรับส่ง แน่นอนก็จะทำให้ความเร็วลดลง และตัว single gateway จะต้องมีความสามารถในการรับรับมือกับข้อมูลจำนวนมากที่กำลังเพิ่มขึ้นทุกวัน (เหมือนด่านตรวจนักท่องเที่ยวที่สนามบิน ยิ่งตรวจละเอียดหลายขั้น แถวก็จะยิ่งยาว และช้า) อันนี้ถ้ารับมือกับจำนวนข้อมูลที่เข้าออกผ่าน Single Gateway ไม่ได้ จะมีผลกระทบในทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

ในอดีตเคยเกิดเหตุการณ์ที่กระทบความมั่นคงในการใช้อินเทอร์เน็ต ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุการณ์เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา เกิดแผ่นดินไหวใต้ทะเลที่ไต้หวัน ส่งผลให้สายเคเบิลใต้น้ำขาด และสายเคเบิลนี้เองที่เชื่อมต่อกับ Gateway ของประเทศไทย ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตทั้งประเทศช้าลงไปครึ่งต่อครึ่ง นั่นเพราะประตูที่ใช้ออกจากบ้าน ถูกตัดขาดไปทางหนึ่ง อินเทอร์เน็ตจากทั้งประเทศจึงวิ่งไปออกอีกประตูที่เหลือ นั่นคือ เหตุผลว่า ทำไม Gateway จึงไม่ควรมีเพียงจุดเดียว เพราะบ้านยังมีทางออกสำรองไว้ แล้วทำไมทางออกเชื่อมต่อในการสื่อสารจะมีทางเดียวล่ะครับ

ฝ่ายสนับสนุน Single Gateway ก็จะบอกว่า ต่างประเทศเค้าก็ทำกันนะ Single Gateway ประเทศใหญ่ๆ แบบจีนก็ทำ แต่ไม่ได้บอกว่า เกาหลีเหนือ ลาว คิวบา และประเทศสังคมนิยมก็ใช้ Single Gateway นะครับ แฮ่มมม ครั้นจะบอกว่าประเทศใหญ่แบบจีน ที่มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่า 700 ล้านคน ก็ยังใช้ Single Gateway ผมเลยจะบอกว่าคนจีนเค้าตื่นนอนมาก็ใช้งานแต่แอพพลิเคชั่น ในประเทศทั้งนั้น ตื่นเช้ามาก็เปิด WeChat หรือ QQ ซึ่งเป็นระบบ Chat เหมือนกับ LINE ที่คนไทยนิยมใช้กัน หรือจะเข้าเว็บ Search หาข้อมูล ก็ไม่เข้าเว็บ Google นะครับ (เพราะว่าโดนรัฐบาลจีนป่วนจนต้องปิดการให้บริการในจีน) เพราะคนจีนใช้ Baidu กัน Twitter นั้น คนจีนไม่รู้จัก รู้จักแต่ Tencent Weibo โซเชี่ยลเน็ตเวิร์คก็ใช้ DouBan แทนที่จะเป็น Facebook ส่วนดูวีดีโอก็ YouKu แทนที่จะเป็น YouTube ซึ่งทุกอย่างเป็นการจราจรทางการสื่อสารภายในประเทศหมด ถามว่าจะเข้าเว็บต่างประเทศที่กล่าวมาทั้งหมด ที่มีความเสี่ยงเรื่องเนื้อหา ว่าคนจีนจะเข้าถึงได้มั๊ย คำตอบคือพอไหวครับ แต่ต้องหาประตูลับออกไป ซึ่งจะช้ามากๆ ดังนั้น คนจีนจะเข้าเว็บต่างประเทศได้ในเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่ล่อแหลมกับการปกครองครับ


ขอขอบคุณบทความดีๆจาก
http://www.vcharkarn.com/varticle/503289