|
ฟิวส์ (Fuse) คืออะไร?![]() ![]() ![]() ปกติแล้วกระแสเกินพิกัด (Overload Current) เกิดขึ้นจากการดึงกระแสที่มากเกินจากอุปกรณ์ปลายทาง ส่วนกระแสลัดวงจร (Short Circuit Current) เกิดจากการที่กระแสเคลื่อนที่ผ่านทางลัดที่อาจจะเกิดจากการแตะกันของสายไฟหรือมีตัวนำไฟฟ้าเชื่อมต่อการลัดวงจร ซึ่งสามารถมีค่ามากกว่าพันเท่าของกระแสต่อเนื่องที่ฟิวส์ทนได้ โดยปกติ ฟิวส์จะเป็นอุปกรณ์ที่อ่อนแอที่สุดในวงจร โดยจะขาดและตัดวงจรก่อนที่อุปกรณ์อื่นๆ เช่น หลอดไฟ สายไฟ หรือหม้อแปรง จะไหม้หรือระเบิด Fuses and Breakers (ฟิวส์กับเบรคเกอร์) ![]() ![]() ฟิวส์แตกต่างจากเบรคเกอร์ตรงที่ ฟิวส์เมื่อทำการตัดวงจรออกแล้วจะใช้งานต่อไปไม่ได้ ต้องทำการเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ ส่วนเบรกเกอร์เมื่อตัดวงจรแล้ว สามารถรีเซ็ทค่าแล้วใช้งานได้ต่อไปอีก อย่างไรก็ตาม ฟิวส์มีราคาถูกกว่าและให้ความเสถียรภาพและรวดเร็วในการตัดวงจรได้ดีกว่าเบรคเกอร์ นอกจากนี้ฟิวส์ทุกชนิดสามารถป้องกันทั้งกระแสเกินพิกัด (Overload Current) และกระแสลัดวงจร (Short Circuit Current) แต่เบรกเกอร์นั้นโดยส่วนใหญ่จะออกแบบมาเพื่อป้องกันกระแสเกินพิกัด (Overload Current) อย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถจะป้องกันกระแสที่อันตรายอย่างกระแสลัดวงจร (Short Circuit Current) ได้ ดังนั้น การออกแบบระบบที่ต้องการเสถียรภาพในการตัดวงจรค่อนข้างสูง จึงมักมีการนำเอาฟิวส์มาต่อร่วมกับเบรคเกอร์ โดยให้เบรกเกอร์ทำการตัดวงจรก่อน (ค่ากระแสพิกัดต่ำ) แต่ถ้าเบรคเกอร์ไม่ตัด ฟิวส์จะทำหน้าที่ตัดวงจรเอง (ค่ากระแสพิกัดสูง) หรือระบบที่ใช้ฟิวส์เป็นตัวตัดวงจรเพียงตัวเดียว บางทีอาจจะมีการต่อเบรคเกอร์ไว้ด้วย เพื่อประโยชน์ในการตัดวงจรขณะตรวจเช็คหรือบำรุงรักษา (มอเตอร์มักไม่ใช้ฟิวส์ แต่จะใช้เบรกเกอร์คู่กับ Overload Relay ในการตัดวงจรออกจากระบบไฟฟ้า เนื่องจากมอเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มักเกิดกระแสเกินชั่วขณะเมื่อสตาร์ท จึงต้องการอุปกรณ์ป้องกันที่ตัดวงจรช้า โดยจะตัดวงจรเมื่อเกิดกระแสเกินจริงๆ ดังนั้นอุปกรณ์ที่ตัดวงจรจะเป็น Overload Relay และเบรคเกอร์ซึ่งจะเป็นตัว Back Up เพื่อตัดระบบไฟฟ้าออกสำหรับการบำรุงรักษาตู้ควบคุมไฟฟ้าหรือเพื่อการตรวจเช็คเท่านั้น) Type of Fuses (ประเภทของฟิวส์) 1. Time-Delay Fuses: ฟิวส์ประเภทนี้จะหน่วงเวลาขณะที่มีกระแส Overload ขนาดเล็ก เพื่อป้องกันการขาดของฟิวส์ที่ไม่จำเป็นสำหรับกระแส Temporary Overload บางประเภท เช่น Motor Start-Ups หรือ Switching Surges บางครั้งเรียกฟิวส์ชนิดนี้ว่า Dual-Element Fuses ![]() 2. Fast-Acting Fuses: ฟิวส์ชนิดนี้ไม่มีการหน่วงเวลา จะตัดวงจรทันทีที่มีกระแสที่เกินกระแสต่อเนื่องที่ฟิวส์ทนได้ ใช้ในวงจรที่ไม่มีกระแส Temporary overload เช่น วงจรความร้อน (Heating) หรือวงจรแสงสว่าง (Lighting) ![]() Short Circuit Current Rating (ค่าพิกัดกระแสลัดวงจร) Short Circuit Current Rating มีชื่อเรียกอีกว่า Interrupting Rating หรือ Breaking Capacity คือค่ากระแสที่สูงสุดที่ฟิวส์สามารถตัดวงจรได้อย่างปลอดภัยที่เมื่อฟิวส์ใช้งานอยู่ที่ค่าพิกัดความต่างศักย์ (Voltage Rating) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เมื่อเกิดกระแสลัดวงจร ซึ่งมีค่าสูงมากหลายเท่าของกระแสปกติที่ฟิวส์ทนได้ ฟิวส์จะยังทำหน้าที่ตัดวงจรตามปกติ โดยไม่เกิดการระเบิดหรือแตกหัก ถ้าหากกระแสลัดวงจรไม่เกินค่าพิกัดกระแสลัดวงจรของฟิวส์นั้นๆและค่าความต่างศักย์ที่ใช้ไม่เกินค่าพิกัดความต่างศักย์ของฟิวส์นั้นๆ Voltage Rating (ค่าพิกัดความต่างศักย์) Voltage Rating คือ ค่าความต่างศักย์ที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้งาน จริงๆแล้วจะเป็นค่าความต่างศักย์ที่สูงสุดที่ฟิวส์จะสามารถตัดวงจรได้อย่างปลอดภัยเมื่อเกิดกระแสลัดวงจร ดังนั้น ฟิวส์จะสามารถนำไปใช้ได้อย่างปลอดภัยที่ทุกความต่างศักย์ที่ต่ำกว่าค่าพิกัดความต่างศักย์โดยไม่ทำให้ความสามารถในการตัดวงจรของฟิวส์เสียไป โดยปกติ ค่า Voltage Rating ที่ผู้ผลิตแจ้งมาจะเหมาะสมกับ AC หรือ DC อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ผู้ใช้สามารถพิจารณานำไปใช้ได้ ดังนี้ 1. ถ้าเป็น Glass Fuse ค่า Voltage Rating ของ DC จะมีค่าประมาณครึ่งหนึ่งของ AC ![]() 2. ถ้าเป็น Ceramic Fuse ค่า Voltage Rating ของ DC จะมีค่าเท่าๆกับ AC ![]() Current Rating (ค่าพิกัดกระแส) Current Rating คือ ค่ากระแสปกติที่ฟิวส์สามารถทนได้ก่อนที่จะตัดวงจร โดยเป็นค่ากระแสที่ฟิวส์สามารถทนได้จากการทดสอบจากผู้ผลิตที่อุณหภูมิมาตรฐานในห้องแล็บซึ่งก็คือ 25C หรือ 77F โดยประมาณ Fuse Selection Guide (หลักการเลือกใช้ฟิวส์) 1. ในการเลือกฟิวส์ที่มีขนาดถูกต้อง ผู้ใช้ต้องทราบขนาดกระแสปกติในวงจรที่อุณหภูมิห้อง (25C) เสียก่อน เมื่อทราบขนาดของกระแสดังกล่าวแล้ว จึงเลือกใช้ฟิวส์ที่มีค่าพิกัดกระแส 135% ของค่ากระแสนั้น โดยให้เลือกฟิวส์ขนาดมาตรฐานถัดไปจากค่ากระแสที่คำนวณได้ ตัวอย่างเช่น ระบบที่เดินปกติซึ่งมีกระแสในระบบ 10A ที่อุณหภูมิห้อง ควรเลือกใช้ฟิวส์ขนาด 15A (ค่า 135% ของกระแสดังกล่าวคือ 13.5x10A = 13.5A ซึ่งขนาดมาตรฐานของฟิวส์ถัดไปที่ควรเลือกใช้ก็คือขนาด 15A) 2. อุณหภูมิในการใช้งานฟิวส์มีผลต่อการเลือกใช้ฟิวส์เช่นกัน กล่าวคือ ฟิวส์ขนาดเท่ากัน หากถูกนำไปใช้ที่อุณหภูมิสูง จะทำให้ฟิวส์ขาดได้ง่ายกว่าการนำไปใช้ที่อุณหภูมิต่ำ ดังนั้นหากนำฟิวส์ไปใช้ที่อุณหภูมิมากกว่า 25C ควรเลือกฟิวส์ที่มีขนาดสูงกว่าการเลือกแบบปกติ (ตามข้อ 1) เพื่อชดเชยอุณหภูมีที่สูงขึ้นและลดการตัดวงจรแบบไม่จำเป็น (Nuisance Tripping) เช่นเดียวกัน หากนำฟิวส์ไปใช้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25C ก็ควรเลือกฟิวส์ขนาดต่ำกว่าการเลือกแบบปกติ (ตามข้อ 1) เช่นกัน โดยหลักการทั่วๆไปกล่าวไว้ว่า ทุกๆอุณหภูมิ 20C ที่สูงขึ้นหรือต่ำลงจากอุณหภูมิห้อง (25C) ควรเลือกฟิวส์ขนาดเพิ่มขึ้นหรือลดลง 10-15% ตัวอย่างเช่น ถ้าค่ากระแสปกติในวงจรที่อุณหภูมิห้องเท่ากับ 1A โดยหากนำไปใช้ที่อุณหภูมิห้อง (25C) ควรเลือกฟิวส์ขนาด 1.5A (ค่า 135% ของกระแสดังกล่าวคือ1.35x1A = 1.35A โดยเลือกขนาดมาตรฐานถัดไปคือ 1.5A) แต่ถ้าหากนำไปใช้ที่อุณหภูมิ 65C ก็ต้องเพิ่มขนาดฟิวส์ไปอีกประมาณ 30% ซึ่งก็คือควรเลือกฟิวส์ขนาด 2A (ค่า 130% ของ 1.35A ก็คือ 1.3x1.35 = 1.755A โดยเลือกขนาดมาตรฐานถัดไปก็คือ 2A) ขอขอบคุณ www.baantech.com www.vcharkarn.com th.wikipedia.org กรุณาเข้า สู่ระบบ ก่อนทำการเขียนข้อความ
|
|