JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศ

2015-11-16 16:48:08 ใน NEWS » 0 49778

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศ

          1.BTU (British Thermal Unit) คือ ขนาดทำความเย็นของ เครื่องปรับอากาศ มีหน่วยดังนี้ 1 ตันความเย็น เท่ากับ 12000 BTU/hr. เราควรเลือกขนาด BTU ให้เหมาะสมกับขนาด ของห้อง ที่จะทำการติดตั้ง โดยสามารถเลือก ได้จากตารางด้านขวานี้
การเลือกขนาดบีทียู
ประมาณการค่าไฟฟ้า
Btu/h ขนาดห้อง (Square metre)
Nomal Room ห้องโดนแดด
9,000 12-14 11-13
12,000 16-20 14-18
18,000 20-28 21-27
21,000 28-35 25-32
24,000 32-40 28-35
26,000 35-44 30-39
30,000 40-50 35-45
36,000 48-60 42-54
40,000 56-65 52-60
48,000 64-80 56-72
60,000 80-1,000 70-90
Btu/h ประมาณการค่าไฟ/เดือน
EGAT 5 มอก.
9,000 450 530
12,000 600 700
18,000 850 1,000
21,000 1,100 -
24,000 1,200 1,390
26,000 1,250 1,450
30,000 1,550 1,800
36,000 1,880 2,125
40,000 2,050 2,450
48,000 - 3,000
60,000 - 3,600
ปัจจัยที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม ในการเืลือกซื้อ เครื่องปรับอากาศ

  1. จำนวนและขนาดของหน้าต่าง
  2. ทิศที่แดดส่องหรือทิศที่ตั้งของห้อง
  3. วัสดุหลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม
  4. จำนวนคนที่ใช้งานในห้อง
ทำไมต้องเลือก BTU ให้พอเหมาะ
 BTU สูงไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตัดบ่อยเกินไป ทำให้ประสิทธิภาพ ในการ ทำงานลดน้อยลง ทำให้ความชื้นในห้องสูง ไม่สะบายตัว และที่สำคัญ ราคาแพง และสิ้นเปลืองพลังงาน
 BTU ต่ำไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดเวลา เพราะความเย็นห้องไม่ได้ตาม อุณหภูมิ ที่ตั้งไว้ สิ้นเปลืองพลังงาน และเครื่องปรับอากาศ เสียเร็ว
การคำนวณ BTU ของเครื่องปรับอากาศ  
BTU = พื้นที่ห้อง (กว้าง*ยาว)*ตัวแปร ตัวแปรความร้อน แบ่งได้ 2ระดับ

หากฝ้าเพดานสูงกว่า 2.5 เมตร มีจำนวนคนในห้องมาก หรือมีคอมพิวเตอร์ ควรบวกค่า BTU เพิ่มขึ้นอีก 5% จากค่าปกติ

700-800 สำหรับห้องนอน หรือห้องที่มีความร้อนน้อย (ห้องที่ไม่โดนแดด หรือโดนเล็กน้อย ฝ้าต่ำ หรือห้องที่ใช้แอร์ช่วงกลางคืน)
800-900 สำหรับห้องรับแขก หรือห้องที่มีความร้อนปานกลาง - มาก (ห้องที่โดนแดด อยู่ทิศตะวันตก หรือใช้แอร์ช่วงกลางวัน)

วิธีการคำนวณ

900-1000 สำหรับห้องทำงาน ห้องออกกำลังกาย หรือห้องที่มีความร้อนมาก หรือฝ้าสูง(ห้องที่โดนแดด อยู่ทิศตะวันตก อยู่ชั้นบนสุด หรือใช้แอร์ ช่วงกลางวัน)
ค่าไฟต่อเดือน = (จำนวนวัตต์(Watt) x จำนวนชั่วโมงที่ใช้จริง x ค่าไฟต่อหน่วย x อัตราการทำงาน 80% x 30วัน) / 1,000 1000-1200 สำหรับร้านค้า ร้านอาหารที่เปิดปิดประตูบ่อย ร้านทำผม หรือสำนักงานที่มีคนอยู่จำนวนมาก
  Ex. อัตราการกินไฟ (Watt) =1,040 = (1,040x8x3x80%x30)/1,000
  ค่าไฟต่อหน่วย = 3 บาท = 599 บาท/เดือน
  ชั่วโมงใช้งานประมาณ = 8 ชั่วโมง  
สำหรับ เครื่องปรับอากาศ ขนาด 12000 BTU ถ้าปรับอุณภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศา (นับจาก 25 องศา) เป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมง/วัน ช่วยชาติ ประหยัดไฟได้วันละ 2บาท/วัน 60บาท/เดือน คิดเป็น 720บาท/ปี ต่อครัวเรือน
EER คืออะไร  
EER (Energy Efficiency Ratio) หรืออัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศ คือค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ของเครื่องปรับอากาศว่าดีหรือไม่ อย่างไร มีหน่วยเป็น (Btu/hr.)/W ดูจากหน่วยของค่า EER นี้แล้วก็คงเข้าใจได้โดยง่ายว่าค่า EER นั้นก็คืออัตราส่วนของความเย็นที่เครื่องปรับอากาศสามารถทำได้จริง (Output) กับกำลังไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศ นั้นต้องใช้ใน การทำความเย็น (Input) เครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER ยิ่งสูงก็แสดงว่า เครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นยิ่งมีประสิทธิภาพ ในการ ใช้พลังงานที่ดียิ่งขึ้น
หลักการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ

หลักการทำความเย็นเครื่องปรับอากาศก่อนที่เราจะเรียนรู้กลไกการทำงานของ เครื่องปรับอากาศ เราควรทราบก่อนว่า ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบการทำการความเย็น (Refrigeration Cycle) มี

          1. คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ของแอร์ แอร์บ้าน ทำหน้าที่ขับเคลื่อนสารทำ ความเย็นหรือน้ำยา (Refrigerant) ในระบบ โดยทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิ และความดันสูงขึ้น

          2. คอยล์ร้อน (Condenser) ทำหน้าที่ระบายความร้อนของสารทำความเย็น

          3. คอยล์เย็น (Evaporator) ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนภายในห้องมาสู่สารทำความเย็น

          4. อุปกรณ์ลดความดัน (Throttling Device) ทำหน้าที่ลดความดันและอุณหภูมิของสาร ทำความเย็น โดยทั่วไปจะใช้เป็น แค็ปพิลลารี่ทิ้วบ์ (Capillary tube) หรือ เอ็กสแปนชั่นวาล์ว (Expansion Valve)

ระบบการทำความเย็นที่เรากำลังกล่าวถึงคือระบบอัดไอ (Vapor-Compression Cycle) ซึ่งมีหลักการทำงานง่ายๆคือ การทำให้สารทำความเย็น (น้ำยา) ไหลวนไปตามระบบ โดยผ่านส่วนประกอบหลักทั้ง 4 อย่างต่อเนื่องเป็น วัฏจักรการทำความเย็น (Refrigeration Cycle) โดยมีกระบวนการดังนี้

          1) เริ่มต้นโดยคอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นเพื่อเพิ่มความดันและอุณหภูมิของน้ำยา แล้วส่งต่อเข้าคอยล์ร้อน

          2) น้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์ร้อนโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยระบายความร้อน ทำให้น้ำยาจะที่ออกจากคอยล์ร้อนมีอุณหภูมิลดลง (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งต่อให้อุปกรณ์ลดความดัน

          3) น้ำยาที่ไหลผ่านอุปกรณ์ลดความดันจะมีความดันและอุณหภูมิที่ต่ำมาก แล้วไหลเข้าสู่คอยล์เย็น (หรือที่นิยมเรียกกันว่า การฉีดน้ำยา)

          4) จากนั้นน้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์เย็นโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยดูดซับความร้อนจากภายในห้อง เพื่อทำให้อุณหภูมิห้อง ลดลง ซึ่งทำให้น้ำยาที่ออกจากคอยล์เย็นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งกลับเข้าคอมเพรสเซอร์เพื่อทำการหมุนเวียนน้ำยาต่อไป

หลังจากที่เรารู้การทำงานของวัฏจักรการทำความเย็นแล้วก็พอจะสรุปง่ายๆได้ดังนี้

          1) สารทำความเย็นหรือน้ำยา ทำหน้าที่เป็นตัวกลางดูดเอาความร้อนภายในห้อง (Indoor) ออกมานอกห้อง (Outdoor) จากนั้น น้ำยาจะถูกทำให้เย็นอีกครั้งแล้วส่งกลับเข้าห้องเพื่อดูดซับความร้อนอีก โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดการ ทำงานของคอมเพรสเซอร์

          2) คอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวในระบบที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนน้ำยาผ่านส่วนประกอบหลัก คือคอยล์ร้อน อุปกรณ์ ลดความดัน และคอยล์เย็น โดยจะเริ่มทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องสูงเกินอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ และจะหยุดทำงาน เมื่ออุณหภูมิ ภายในห้องต่ำกว่าอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ ดังนั้นคอมเพรสเซอร์จะเริ่ม และหยุดทำงานอยู่ตลอดเวลาเป็นระยะๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิ ห้องให้สม่ำเสมอตามที่เราต้องการ

ระบบ Inverter คืออะไร
คือ ระบบที่ควบคุมการปรับอากาศ ให้เป็นอย่างราบเรียบและคงที่ด้วยการปรับเปลี่ยนรอบการหมุนของคอมเพรสเซอร์ โดยการเปลี่ยความถึ่ ของกระแสไฟ ที่จ่าย ให้กับมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์แทนการทำงานแบบ ติด-ดับ-ติด-ดับ ในเครื่องปรับอากาศแบบเก่าทำให้ ระบบอินเวอร์เตอร์ สามารถควบคุมอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำมากขึ้นและที่สำคัญ คือ ประหยัดพลังงานกำลังงานที่ใช้ในการทำ ความร้อน หรือทำความเย็นจะถูกเปลี่ยนโดยอัตโนมัติ อุณหภูมิของห้องคงที่กว่าเมื่อเทียบกับระบบเก่า เนื่องจากระบบนี้
จะไม่มีการหยุดการทำงานของคอมเพรสเซอร์ อุณหภูมิของห้องค่อนข้างคงที่ เนื่องจากระบบนี้ จะปรับกำลังในการทำความร้อน
หรือทำความเย็นโดยอัตโนมัติ อ้างอิงกับภาวะ( Workload) ที่มีอยู่ในห้องให้กำลังที่สูงกว่าการทำงานในช่วงเริ่มต้น ทำให้ห้องเย็นหรืออุ่นได้เร็วดังใจ ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพพลังงานมากอาจมีต้นทุนที่สูง ในตอนแรก (ราคา) แต่ผลตอบแทน
คือค่าไฟฟ้าที่ได้รับจะถูกกว่า สรุปก็คือผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพพลังงานสูงกว่าจะช่วยประหยัด เงินและพลังงานมากกว่า
ในระยะหลายเดือน หรือหลายปีข้างหน้า



ขอขอบคุณบทความดีๆจาก

http://www.rung-ruengair.com/new/InformationAir.html