JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0

ความถี่วิทยุ

2016-01-18 14:59:50 ใน NEWS » 0 54581

ความถี่วิทยุ

ความถี่วิทยุ หรือ ย่านความถี่วิทยุ หรือที่นิยมเรียกย่อ ๆ ว่า RF (อังกฤษRadio frequency) นั้นใช้หมายถึง ช่วงสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า หรือย่านความถี่แม่เหล็กไฟฟ้านั่นเอง ซึ่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นสามารถถูกสร้างออกมา โดยการจ่ายกระแสไฟฟ้าสลับให้แก่สายอากาศ ความถี่วิทยุถูกแบ่งออกเป็นหลายย่านดังแสดงในตารางต่อไปนี้

สเปกตรัมของความถี่วิทยุ

ชื่อย่านความถี่ ITUย่านที่ ความถี่
ความยาวคลื่น
ตัวอย่างการใช้งาน
    < 3 Hz
> 100,000 km
 
ELF (Extremely low frequency) 1 3-30 Hz
100,000 km - 10,000 km
การสื่อสารกับเรือดำน้ำ
SLF (Super low frequency) 2 30-300 Hz
10,000 km - 1000 km
การสื่อสารกับเรือดำน้ำ
ULF (Ultra low frequency) 3 300-3000 Hz
1000 km - 100 km
การสื่อสารในเหมือง
VLF (Very low frequency) 4 3-30 kHz
100 km - 10 km
การสื่อสารใต้น้ำ, avalanche beacons, ระบบติดตามอัตราการเต้นของหัวใจแบบไร้สาย, ธรณีฟิสิกส์ (geophysics)
LF (Low frequency) 5 30-300 kHz
10 km - 1 km
วิทยุนำร่อง, สัญญาณเวลา, ออกอากาศวิทยุ AM คลื่นยาว
MF (Medium frequency) 6 300-3000 kHz
1 km - 100 m
ส่งกระจายเสียงวิทยุ AM คลื่นความยาวกลาง
HF (High frequency) 7 3-30 MHz
100 m - 10 m
วิทยุคลื่นสั้นวิทยุสมัครเล่น และ การสื่อสารทางการบินที่ระยะข้ามเส้นขอบฟ้า
VHF (Very high frequency) 8 30-300 MHz
10 m - 1 m
ส่งกระจายเสียงวิทยุFM, ส่งสัญญาณออกอากาศโทรทัศน์ (บังคับได้ตั้งแต่ช่อง 1 ถึงช่อง 12 หรือบางกรณีส่งได้ถึงช่อง 13) และ การสื่อสารแบบแนวตรงไม่โดนบดบัง (line-of-sight) จากพื้นสู่อากาศ และ จากอากาศสู่อากาศ, วิทยุสมัครเล่น
UHF (Ultra high frequency) 9 300-3000 MHz
1 m - 100 mm
ส่งสัญญาณออกอากาศโทรทัศน์ (บังคับได้ตั้งแต่ช่อง 13 ถึงช่อง 84) , โทรศัพท์มือถือ , Tablet PC , Laptop Computer , Wireless LANบลูทูธ, และวิทยุสองทาง เช่น วิทยุ FRS และ วิทยุ GMRS
SHF (Super high frequency) 10 3-30 GHz
100 mm - 10 mm
อุปกรณ์ไมโครเวฟWireless LANเรดาห์สมัยใหม่
EHF (Extremely high frequency) 11 30-300 GHz
10 mm - 1 mm
ดาราศาสตร์วิทยุ, high-speed microwave radio relay
Submillimeter Wave   ความถี่สูงกว่า 300 GHz
< 1 mm
 

หมายเหตุ

  • ที่ย่านความถี่สูงกว่า 300 GHz ชั้นบรรยากาศของโลกจะดูดซับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่กระจายออกได้มาก ทำให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไม่สามารถแผ่กระจายออกไปได้ ซึ่งคลื่นแม่เหล็กในย่านที่สูงกว่า 300 GHz นี้จะไม่สามารถแผ่กระจายผ่านชั้นบรรยากาศได้ จนถึงย่านความถี่ช่วง อินฟราเรด และ ย่านความถี่แสง
  • ย่าน ELF SLF ULF และ VLF จะคาบเกี่ยวกับย่านความถี่เสียงซึ่งประมาณ 20-20,000 Hz แต่เสียงนั้นเป็นคลื่นกลจากแรงดันอากาศ ไม่ได้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • ย่าน SHF และ EHF บางครั้งก็ไม่นับเป็นย่านความถี่วิทยุ แต่เรียกเป็นย่านความถี่ไมโครเวฟ
  • อีกจุดหนึ่งที่น่าสังเกตคือ วัตถุทุกชนิดนั้นจะมีความถี่วิทยุของตัวเองไม่ว่าจะมีขนาดเล็กเท่าใดก็ตาม
  • สำหรับการส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบ VHF และ UHF ถ้าออกอากาศในระบบอนาล็อก จะส่งสัญญาณในลักษณะคู่ขนานได้ และในอนาคต เมื่อโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ยุติการส่งแบบอนาล็อก เพื่อเปลี่ยนแปลงเป็นดิจิตอล ระบบ VHF จะไม่สามารถออกอากาศหรือส่งระบบต่อไปได้ คงจะต้องถูกบังคับให้ส่งโทรทัศน์ดิจิตอลภาคพื้นดินในระบบ UHF เพียงระบบเดียวเท่านั้น
  • คำว่า 3,5,7,9,11 (ยกเว้น ITV, TITV และไทยพีบีเอส) ที่คนไทยนิยมเรียกโดยรวมนั้น มีลักษณะตัวเลข แปลว่าประเทศไทย มีการส่งโทรทัศน์ในระบบ VHF ทั้งหมด 5 ช่อง ซึ่งการส่งสัญญาณดังกล่าว ทางสถานีส่งได้นำตัวเลขช่องสัญญาณ VHF ดังกล่าวมาเป็นชื่อของสถานีแต่ละช่อง คงจะมีแค่สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ทีไอทีวี และไทยพีบีเอส(สถานีเดียวกัน) ไม่เรียกตัวเลข เพราะว่า ทางสถานีได้ออกอากาศในระบบ UHF ทางช่อง 26 และช่อง 29 เท่านั้น

ชื่อย่านความถี่วิทยุ

ชื่อทั่วไป

ย่านความถี่ออกอากาศ:

  • วิทยุ AM คลื่นยาว (Longwave AM Radio) = 150 kHz - 280 kHz (LF)
  • วิทยุ AM คลื่นความยาวขนาดกลาง (Mediumwave AM Radio) = 530 kHz - 1610 kHz (MF)
  • TV ย่าน I (Channels 1 - 6) = 50 MHz - 88 MHz (บางส่วนสามารถจำกัดจงถึง 75.0 MHz) (VHF)
  • วิทยุ FM ย่าน II = 75.0 MHz หรือ 88 MHz (ในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่ 87.5 MHz) - 108 MHz (VHF)
  • TV ย่าน III (Channels 7 - 13) = 174 MHz - 216 MHz (275 MHz) (VHF)
  • TV ย่าน IV & V (Channels 14 - 83) = 470 MHz - 950 MHz (UHF) 

ความถี่วิทยุสมัครเล่น

ความถี่ของกิจการวิทยุสมัครเล่นนั้นขึ้นกับรัฐบาลของแต่ละประเทศที่จะอนุญาตให้นักวิทยุสมัครเล่นได้ใช้งาน นักวิทยุสมัครเล่นมักเรียกความถี่โดยการใช้ความยาวคลื่น เช่น ความถี่ 7.0 ก็จะเรียกว่า 40 m หรือ "ย่านสี่สิบเมตร"

ความยาวคลื่น ความถี่
160 m 1.8 ถึง 2.0 MHz
80 m 3.5 ถึง 4.0 MHz
60 m 5.3 ถึง 5.4 MHz
40 m 7 ถึง 7.3 MHz
30 m 10.1 ถึง 10.15 MHz
20 m 14 ถึง 14.35 MHz
15 m 21 ถึง 21.45 MHz
12 m 24.89 ถึง 24.99 MHz
10 m 28.000 - 29.70 MHz
6 m 50 ถึง 54 MHz
2 m 144 - 148 MHz
70 cm 430 ถึง 440 MHz
23 cm 1240 ถึง 1300 MHz

ย่านความถี่ IEEE

ย่าน ความถี่ ที่มาของชื่อ
HF band 3 to 30 MHz High Frequency  
VHF band 30 to 300 MHz Very High Frequency  
UHF band 300 to 1000 MHz Ultra High Frequency

Frequencies from 216 to 450 MHz were sometimes called P-band: Previous, since early British Radar used this band but later switched to higher frequencies.

L band 1 to 2 GHz Long wave
S band 2 to 4 GHz Short wave
C band 4 to 8 GHz Compromise between S and X
X band 8 to 12 GHz Used in WW II for fire control, X for cross (as in crosshair)
Ku band 12 to 18 GHz Kurz-under
K band 18 to 26 GHz German Kurz (short)
Ka band 26 to 40 GHz Kurz-above
V band 40 to 75 GHz  
W band 75 to 111 GHz W follows V in the alphabet

ย่านความถี่ EUNATOUS ECM

ย่าน ความถี่
A band 0 ถึง 0.25 GHz
B band 0.25 to 0.5 GHz
C band 0.5 to 1.0 GHz
D band 1 to 2 GHz
E band 2 to 3 GHz
F band 3 to 4 GHz
G band 4 to 6 GHz
H band 6 to 8 GHz
I band 8 to 10 GHz
J band 10 to 20 GHz
K band 20 to 40 GHz
L band 40 to 60 GHz
M band 60 to 100 GHz
 


ขอขอบคุณบทความดีๆจาก
https://th.wikipedia.org/wiki/ความถี่วิทยุ