JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0

การใช้ Digital Timer

2015-11-25 10:07:15 ใน ความรู้ทั่วไป » 0 19251
การใช้ Digital Timer
(Energy Saving - Digital Timer)

 
    บทความเกี่ยวกับนาฬิกาตั้งเวลาแบบดิจิตอล (Digital Timer) นั้น ผู้เขียนได้เขียนไว้ครั้งแรกชื่อเรื่อง การใช้ Weekly Electronic Timer เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2554  หลังจากนั้นมีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นเพื่อความสะดวกและเป็นการช่วยประหยัดพลังงาน จึงได้หาซื้อมาเพิ่ม และได้พบอุปกรณ์ Toshino Digital Timer รุ่น TS-EB1 ซึ่งมีราคาแพงกว่า แต่มีขั้วเสียบหรือขาปลั๊กที่ดี มีขั้ว Ground และมีการใช้งานที่ง่ายขึ้น ดังนั้นในบทความนี้จะเน้นการใช้งานของอุปกรณ์ชิ้นนี้
     


 
ประโยชน์ในการใช้งาน
ใช้เปิด ปิดไฟฟ้าสำหรับไฟแสงสว่างบริเวณหน้าบ้าน โรงรถ ไฟสนาม ไฟทางเดิน ไฟป้ายร้าน ไฟฟ้า ป้ายโฆษณา ใช้เปิด ปิดพัดลม ใช้ควบคู่กับ Solenoid Valve เพื่อเปิด ปิดน้ำสำหรับใช้รดต้นไม้ เปิด ปิดปั้มน้ำ เป็นต้น ซึ่งสะดวกและช่วยให้ประหยัดพลังงานได้

 
คุณสมบัติ
1. มีระบบดิจิตอลที่สามารถตั้งเวลาเปิด - ปิดการทำงานได้ 8 ระดับ
2. มีฟิวส์ป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัด (15 A) 
3. ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้สูงสุด 3,600 วัตต์ 
4. มีแบตเตอรี่สำรอง Ni-Mh ใช้งานจ่ายไฟฟ้าสำรองให้กับเครื่องได้ประมาณ 1,000 ชั่วโมง
5. มีขากราวน์และสามารถหมุนถอดออกได้
6. ตั้งเวลาได้ละเอียดถึงวินาที


รายละเอียดหน้าจอและปุ่มต่างๆ 
1. แถบบนสุดของหน้าจอ LCD จะแสดงวันต่างๆของสัปดาห์ เช่น SA = Saturday (1)
2. แถบกลางของจอ LCD แสดงเวลา (2)
3. แถบล่างของจอ LCD แสดงการควบคุมการทำงาน ON  AUTO  OFF (3)
4. ปุ่ม R (Reset) (4)
5. ไฟ Indicator Light (5)



การเตรียมก่อนใช้งาน
1. เสียบเครื่อง Timer เข้ากับเต้าเสียบ 220 V  เพื่อ Charge แบตเตอรี่ ที่ใช้เป็น Memory Back Up ทิ้งไว้นาน 12 ชั่วโมง
2. จากนั้นทำการ Clear ข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง โดยใช้ปลายดินสอหรือปากกา กดที่ปุ่ม R (4) จากนั้น Timer ก็พร้อมที่จะถูกตั้งค่าเพื่อใช้งาน


การตั้งเวลานาฬิกา
1. กดปุ่ม CLOCK ค้างไว้ ขณะเดียวกันให้กดปุ่ม WEEK เพื่อตั้งวันที่เป็นปัจจุบัน หลังจากนั้นให้กดปุ่ม HOUR, MINUTE หรือ SEC เพื่อตั้งเวลาปัจจุบัน
2. ปล่อยปุ่มทั้งสอง เวลาจะถูกตั้งทันที
3. ถ้าตั้งเวลาผิด ให้เริ่มทำตามขั้นตอนที่ 1-2 ใหม่



การตั้งโปรแกรมเวลา เปิด ปิด
ทำตามขั้นตอนดังนี้

1. กดปุ่ม SETUP 1 ครั้ง เพื่อตั้งเวลาที่จะให้เริ่มทำงาน หน้าจอจะแสดง 1_ON
2. กดปุ่ม WEEK เพื่อตั้งวันที่ต้องการ เช่น ถ้าต้องการทุกวัน ก็ต้องกดไปจนพบ SU MO TU WE TH FR SA 
3. กดปุ่ม HOUR เพื่อตั้งชั่วโมง และกดปุ่ม MINUTE เพื่อตั้งนาที เป็นเวลาที่เริ่มทำงาน
4. กดปุ่ม SETUP 1 ครั้งเพื่อตั้งเวลาที่จะให้หยุดทำงาน หน้าจอจะแสดง 1_OFF
5. กดปุ่ม WEEK, HOUR และ MINUTE เพื่อตั้งวันและเวลาหยุดทำงาน
6. กดปุ่ม SETUP อีก1 ครั้งเมื่อเสร็จสิ้นการตั้งค่าหยุดการทำงาน
7. ถ้าต้องการตั้งเวลา เปิด ปิด ครั้งที่ 2, 3, .... ก็ให้เริ่มทวนการทำใหม่ตามข้อ 1 ถึง 6
8. หลังจากเสร็จสิ้นการตั้งเวลาที่ต้องการทั้งหมดแล้ว กดปุ่ม CLOCK เพื่อให้ตัว TIMER ทำงาน แล้วกดปุ่ม MODE จนปรากฎคำว่า AUTO OFF ก็หมายถึงว่า เมื่อถึงเวลาที่ต้องการเครื่องก็จะเปิดและทำงานต่อไปเรื่อยๆตามโปรแกรม


ตัวอย่าง : ตั้งเวลาเปิด - ปิด ไฟฟ้าประจำวัน ให้เปิดเวลา 18.30 น. และปิดเวลา 05.45 น. 
วิธีทำ :
1. กดปุ่ม SETUP หน้าจอจะแสดง 1_ON
2. กดปุ่ม WEEK จนกระทั่งหน้าจอแสดง "MO,TU,WE,TH,FR,SA,SU"
3. กดปุ่ม HOUR จนหน้าจอแสดงเวลา 18.00
4. กดปุ่ม MINUTE จนหน้าจอแสดง 18.30
5. กดปุ่ม SETUP อีกครั้ง หน้าจอจะแสดง 1_OFF เพื่อตั้งเวลาหยุดการทำงาน
6. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 3 และ 4 จนกระทั่งหน้าจอแสดงเวลา 5.45
7. กดปุ่ม CLOCK แล้วกดปุ่ม MODE จนปรากฎ AUTO OFF ก็เสร็จสิ้นการตั้งเวลาและเครื่องพร้อมที่จะทำงานต่อไป


หมายเหตุ : ก่อนที่จะตั้งเวลาโปรแกรม เปิด ปิด ใหม่ ควรลบเวลาของเดิมออกให้หมดก่อนโดยใช้ปุ่ม Reset (4) 

การต่อโหลด
ต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า (Load) เข้าที่ (6) โดยใช้ไฟฟ้าได้ไม่เกิน 15 แอมแปร์ หรือ 3,600 วัตต์ 

Specifications
Voltage : 220-240 VAC 50 Hz
Max.Load : 3,600W
Min. Setting Time : 1 Sec
Operating Temperature : -10 to +40C
Accuracy : +/-1 Minute per month
Battery Backup :  Ni-Mh 1.2V > 1000 hours

การเสียบอุปกรณ์ Digital Timer นี้ทิ้งไว้ จะกินไฟฟ้าน้อยมาก เพียง 2 วัตต์


การใช้ไฟฟ้าของ Digital Timer = 2 w.

 
สถานที่จำหน่าย
 
มีจำหน่ายที่ศูนย์การค้าชั้นนำ ราคา 650 บาท  (แบบเก่าราคา 290 บาท)
........................................................................................


หมายเหตุ :
 
บทความนี้ไม่ใช่เป็นการโฆษณาสินค้า แต่เป็นการเผยแพร่ประสบการณ์ในการใช้งาน เนื่องจากได้มีผู้สนใจติดต่อสอบถามมาเรื่อยๆ เกี่ยวกับการใช้ Digital Timer รวมกับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น Solenoid Valve

 
 
ขอขอบคุณบทความดีๆจาก 
http://www.somkiet.com/Miscellaneous/DigitalTimer.htm